ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง ประกอบกันคือ
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การแยกแยะ
3. การตรวจสอบความถูกต้อง
4. การคำนวณ
5. การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
6. การรายงานผล
7. การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ
(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อ
จากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการ ประมวลผล
การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบินการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงิน
เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
หมายถึงการประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการ
ทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภา
ผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อ เก็บรวบรวม
ข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงาน
หรือสรุปผลหาคำตอบกรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะ
เป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน
|