2. ระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing
System)
การประมวลผลภาษาธรรมชาติเป็นระบบที่จะช่วยทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ ภาษาธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถแปลงคำสั่งที่เป็น ภาษาในชีวิตประจำวันเป็นรูปแบบความรู้ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำ ไปใช้งานได้เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกา
ปลุกพูดได้ (Talking Clock) การบริการสอบถามระบบฐานข้อมูลของ หมายเลขโทรศัพท์ ระบบการตรวจจับคำผิด (Text editing) เป็นต้น
ขั้นตอนการทำงาน ประกอบด้วย
1. Parsing การตรวจสอบประโยคว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์และการแสดง โครงสร้างของภาษา ด้วยโปรแกรมเรียกว่า Parser ซึ่งจะสร้างแผนภาพ เรียกว่า Parse Tree
2. Semantic Interpretation การอธิบายความหมายของประโยค โดยการสร้างในรูปของรูปแบบการแสดงความรู้ เช่น Conceptual Graph
3. World Knowledge Interpretation การเพิ่มความรู้ทั่วไปเพื่อ ประกอบในการอธิบายความหมายของประโยค
ดังนั้น คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีขบวนการต่าง ๆ เพื่อจะได้เข้าใจ ความหมายของแต่ละประโยคซึ่งมีองค์ประกอบ ที่สำคัญดังนี้
2.1 การวิเคราะห์ในเชิงโครงสร้าง (Syntactic Analysis)
เป็นการตรวจสอบโครงสร้างทางไวยากรณ์เกี่ยวกับการวาง ตำแหน่งของกลุ่มคำ
ประเภทต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นประโยค ในกรณีที่ประโยค input ที่รับเข้ามาไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ คอมพิวเตอร์ควรจะบอกได้ว่า เป็นประโยคที่ผิด
ตัวอย่าง---> ประโยค “The man old cried” เป็นประโยคที่มีโครงสร้างผิดหลักไวยากรณ์ เนื่องจากลำดับที่ถูกจะต้อง
เป็น
ประโยค --> นามวลี + กริยาวลี นามวลี --> คำนำหน้านาม + คำคุณศัพท์ + คำนาม กริยาวลี --> กริยา ดังนั้นประโยคที่ถูกควรจะเป็น
“The old man cried”
2.2 การวิเคราะห์ในเชิงความหมาย (Semantic Analysis)
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องในเชิงความหมายของประโยค โดยประโยคที่วางกลุ่มคำชนิดต่างๆตามโครงสร้างไวยากรณ์ จะมีความหมาย อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอนแต่ในบางครั้งประโยค ที่กำลังพิจารณาอาจจะเขียน ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่มีความหมายกำกวมหรือเป็นความหมายที่เป็น ไปไม่ได้ หรือไม่ให้ความหมายอะไรเลย
ตัวอย่าง---> “The stones eat the boys” จะเห็นว่าประโยคนี้โครงสร้างของประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์คือ
ประโยค --> นามวลี +กริยาวลี นามวลี --> คำนำหน้านาม +คำนาม
กริยาวลี --> กริยา + นามวลี แต่เมื่อวิเคราะห์ดูความหมายแล้วเห็นว่าประโยคนี้มีความหมาย
ที่เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อหินเป็นสิ่งไม่มีชีวิตจึงทำกริยา “กิน” ไม่ได้
2.3 การวิเคราะห์ในเชิงตีความ (Pragmatic Analysis) ประโยคที่เราพูดออกมาบางครั้งก็อาจจะไม่ได้มีความหมาย ตรงตาม ข้อความ นั้นๆซึ่งจะต้องตีความตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยที่ทั้งผู้ส่ง ข่าวสารและผู้รับข่าวสารจะต้องอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
ตัวอย่าง--- สมมติตอนนี้เราอยู่ที่สถานีรถไฟและกำลังกังวลว่าขณะนี้
เวลาเท่าไรรถไฟใกล้จะออกหรือยังแต่เราไม่มีนาฬิกา พอดีหันไปเห็นคนข้าง ๆ กำลังดูตารางเวลาการเดินรถเช่นเดียวกัน เราเลยหันไปถามว่า “Do you have a watch?” ถ้าเราได้คำตอบว่า “yes” หรือ “no” แสดงว่าคำตอบที่ได้ผิด เพราะคำตอบที่เราต้องการจริง ๆ คือ เวลา ณ ขณะนี้

|