Thaksin University       


ไฟล์ (File) ไดเร็คทรอรี/โฟลเดอร์ (Directory/Folders)

        ไฟล์ (Files) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่อาจประกอบด้วยตัวอักษร หรือรูปภาพ เช่น ตาราง กราฟแท่ง กราฟวงกลม หรือแม้แต่ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งอาจแทนด้วยไอคอนเพียงไอคอนเดียว

ชื่อไฟล์
ชนิดของไฟล์
Readme.TXT
ไฟล์ตัวอักษร
Calc.EXE
ไฟล์โปรแกรม
Doc1.DOC
ไฟล์ MS Word
Book1.XLS
ไฟล์ MS Excel
Power.PPT
MS Powerpoint

       การขนาดของไฟล์ (File Size) การวัดขนาดของไฟล์นิยมใช้หน่วยที่เป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้กับ 1 ตัวอักษร และเพื่อความสะดวกสำหรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก จะเทียบหน่วยของไฟล์ที่เป็นไบต์ให้เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ดังตาราง

หน่วยความจุ ขนาดของไฟล์ การเปรียบเทียบ
Byte หน่วยความจุที่มีขนาดเล็กมาก -
Kilobyte ตัวย่อ KB 1024 Byte -
Megabyte ตัวย่อ MB 1024 KB 1.44 mb = ดิสก์เก็ต 1 แผ่น
ไฟล์เพลง MP3 1 เพลงมีขนาดประมาณ 3.0 - 4.0 MB
Gigabyte ตัวย่อ GB 1024 MB

CD 1 แผ่นมีขนาดประมาณ 650 - 800 MB
DVD 1 แผ่นมีขนาดประมาณ 4.7 GB, 8.5 GB, 9.4 GB
Hard disk ในปัจจุบัน (ปี 2552) มีขนาดตั้งแต่ 40 GB, 80 GB, 120 GB, 160 GB  

Flash Drive ในปัจจุบัน (ปี 2552) มีขนาดประมาณ 2 GB, 4 GB, 8 GB, 16 GB, 32 GB
Terabyte 1024 GB Hard disk ในปัจจุบัน (ปี 2552) มีขนาด 1 TB, 2TB
Petabyte 1024 Terabyte -

        ไดเร็คทอรี/โฟลเดอร์ (Directories/Folders) หมายถึง แหล่งที่ใช้เก็บข้อมูล ซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์หากมีระบบการจัดการข้อมูลที่ดีจัดเก็บโฟลเดอร์ให้เป็นระเบียบ จะทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยในโฟลเดอร์สามารถที่จะสร้างโฟลเดอร์ย่อยๆ ได้ตามต้องการ เพื่อใช้ในการแบ่งเก็บไฟล์ข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ปะปนกัน

         การตั้งชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์สามารถมีอักขระได้มากที่สุด 255 อักขระรวมถึงช่องว่างด้วย แต่ไม่สามารถมีอักขระต่อไปนี้คือ \ / : * ? " < > |


         มุมมองการจัดข้อมูล
         ไฟล์ เปรียบได้กับเอกสารแต่ละฉบับที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆ เอาไว้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะมีไฟล์อยู่จำนวนมาก หากเก็บไฟล์ต่างๆ เหล่านั้นปะปนกัน จะทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งต้องใช้เวลาในการค้นหาอีก ดังนั้น จึงควรเก็บไฟล์ต่างๆ เหล่านี้ไว้ในโฟลเดอร์ ซึ่งโฟลเดอร์ เป็นเพียงแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเปรียบเสมือนเป็นห้องให้ผู้ใช้เก็บเอกสารต่างๆ ลงไปนั่นเอง

                ผังการจัดเก็บข้อมูลเป็นระดับต่างๆ

 

ถ้าต้องทราบคุณสมบัติต่างๆ ของไฟล์แฟ้มข้อมูลต้องคลิ๊กเมาส์ขวา เลือกเมนู Property

                        

กลับหน้าแรก

จัดทำโดย : กลุ่มภารกิจบริการและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน สำนักคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตสงขลา